วันอาทิตย์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

สวนน้ำมั่งคั่ง พร้อมฉ่ำใจแล้ว รับร้อนนี้ที่มุกดาหาร









  ขอขอบคุณภาพจาก คุณสุริยัน โสรินทร์ รอง ผอ.ททท.นคระนม ครับ

ขอแสดงความยินดี กับ คุณสัจจา วงศ์กิตติธร ขึ้นรับตำแหน่งนายกสมาคมอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดมุกดาหาร (ปีบริหาร 2560-2561) เป็นสมัยที่ 2

ขอร่วมแสดงความยินดีกับ นายสัจจา วงศ์กิตติธร ในโอกาสขึ้นรับตำแหน่งนายกสมาคมอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดมุกดาหาร (ปีบริหาร 2560-2561) เป็นสมัยที่ 2


ขอขอบคุณภาพจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานนครพนม
บ่าวภูไทกะสินธุ์ รายงาน

มุกดาหารจัด กิจกรรมจักรยาน"2 ล้อ 2 น่อง ท่อง 2 แผ่นดิน" เสริมทัพท่องเที่ยว AEC

วันที่ 25 ก.พ. 60 เวลา 07.00 น. นายสรสิทธิ์ ฤทธิ์สรไกร ผวจ.มุกดาหาร มอบให้ นายนพดล ไพฑูรย์ รอง ผวจ.มุกดาหาร เป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรมจักรยานเพื่อการท่องเที่ยว "2 ล้อ 2 น่อง ท่อง 2 แผ่นดิน" (มุกดาหาร - สะหวันนะเขต) ณ บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดมุกดาหาร และร่วมกิจกรรมปั่นจักรยาน "ปั่นชิลล์ แชะ แชร์ แวะเที่ยวมุกดาหาร"  
  สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดมุกดาหาร การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานนครพนม สมาคมอัตสาหกรรม ท่องเที่ยวจังหวัดมุกดาหาร และชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพและแข่งขันจังหวัดมุกดาหาร กำหนดจัดกิจกรรมจักรยานเพื่อการท่องเที่ยว "2 ล้อ 2 น่อง ท่อง 2 แผ่นดิน" (มุกดาหาร-สะหวันนะเขต) เพื่อส่งเสริมและกระตุ้นให้เกิดการท่องเที่ยวของจังหวัดมุกดาหารให้เป็นที่รู้จักแพร่หลายทั่วประเทศและทั่วโลก ด้วยการใช้กิจกรรมปั่นจักรยานเพื่อการท่องเที่ยว ตลอดจนเสริมสร้างความร่วมมือสร้างความสัมพันธไมตรีอันดีระหว่างประเทศไทย และ สปป.ลาว กำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 25 - 26 ก.พ.2560 ณ จังหวัดมุกดาหารและแขวง สะหวันนะเขต กำหนดกิจกรรม "ปั่น ชิลล์ แชะ แชร์ แวะเที่ยวมุกดาหาร และกิจกรรมปั่นจักรยานเพื่อการท่องเที่ยว 2 ล้อ 2 น่อง ท่อง 2 แผ่นดิน (มุกดาหาร - สะหวันนะเขต) มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมกว่า 600 คน 

ขอขอคุณภาพจาก
คุณสุริยัน โสรินทร์
คุณศรีสุภรณ์ ชมศรีหาราชพร
รอง ผอ.ททท.นครพนม















บ่าวภูไทเมิงกะสินธุ์  รายงาน

วันพฤหัสบดีที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

ภูผาพิศวง กลุ่มหินธรรมชาติ ที่อุทยานแห่งชาติภูผาเทิบ มุกดาหาร









ภูผาเทิบ (Phu Pha Thoep)

ที่ตั้งและแผนที่
สถานที่ติดต่อ: 25 หมู่ 5 บ้านคอนสาย ต.นาสีนวน อ.เมือง จ.มุกดาหาร 49000

โทรศัพท์ : 094 289 2383, 0 4267 6474 , 0 4260 1753

อีเมล : rs.phathoep@hotmail.com

หัวหน้าอุทยานแห่งชาติ : นายมณเฑียร วิริยะพันธุ์

อัตราค่าบริการเข้าอุทยานแห่งชาติ
ชาวไทย : ผู้ใหญ่ 20 บาท เด็ก 10 บาท
ชาวต่างชาติ : ผู้ใหญ่ 200 บาท เด็ก 100 บาท

อุทยานแห่งชาติภูผาเทิบ อยู่ในท้องที่อำเภอเมืองและอำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร มีสภาพป่าที่สมบูรณ์ มีป่าเต็งรังบริเวณลานหินหรือภูเขาหิน และในฤดูฝนต่อฤดูหนาวจะเต็มไปด้วยไม้ดอกงดงามนานาชนิด ป่าเบญจพรรณบริเวณหุบเขา มีปรากฏการณ์และธรรมชาติที่สวยงาม หินมีลักษณะหรือรูปทรงแปลกๆ ถ้ำที่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ น้ำตกและน้ำซับตลอดปี ตลอดจนมีสัตว์ป่านานาชนิด มีเนื้อที่ประมาณ 30,312.5 ไร่ หรือ 48.5 ตารางกิโลเมตร

ในปี 2527 กองอุทยานแห่งชาติ ได้รับรายงานจากป่าไม้จังหวัดมุกดาหารตามหนังสือ ที่ มห 009/6913 ลงวันที่ 24 เมษายน 2527 ว่า จังหวัดได้รับนโยบายจาก ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้ดำเนินการอนุรักษ์ป่าใกล้จังหวัดและอำเภอต่างๆ ในรูปอุทยานแห่งชาติ วนอุทยาน หรือสวนรุกขชาติ เป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งจังหวัดได้สำรวจสภาพพื้นที่ที่เหมาะสมควรจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติหรือวนอุทยานแล้ว

กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ ได้มีคำสั่งที่ 1260/2527 ลงวันที่ 16 สิงหาคม 2527 ให้นายเชิดชัย นิลัมภาชาต เจ้าพนักงานธุรการ 4 และนายพงษ์ศักดิ์ จักรกุล พนักงานพิทักษ์ป่า ไปดำเนินการสำรวจหาข้อมูลเบื้องต้นในท้องที่ตำบลบ้านแก้ง อำเภอดอนตาล ตำบลนาสีนวน อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร จากรายงานการสำรวจตามหนังสือลงวันที่ 22 ตุลาคม 2527 ปรากฏว่า บริเวณภูนางหงษ์ ภูถ้ำพระ ภูหลังเส ภูหินเทิบ และภูมโน อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติดงบังอี้ เนื้อที่ประมาณ 49.26 ตารางกิโลเมตร มีสภาพเป็นภูเขาสูงชันเป็นเทือกเขาติดต่อกัน มีป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง มีหน้าผาสูง และลานหินกว้างและยาว ประกอบด้วยหินรูปร่างต่างๆ วางซ้อนทับกันอยู่ มีถ้ำที่สวยงาม

กองอุทยานแห่งชาติได้มีหนังสือ ที่ กษ 0713/4655 ลงวันที่ 11 ธันวาคม 2527 เสนอกรมป่าไม้เห็นควรจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ และมีคำสั่งกรมป่าไม้ที่ 1951/2527 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2527 ให้นายศักดิ์สิทธิ์ พลทรัพย์ศิริ เจ้าพนักงานป่าไม้ 3 ไปดำเนินการจัดตั้งบริเวณดังกล่าวเป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งได้มีหนังสือ ที่ กษ 0713(มห)/1 ลงวันที่ 30 มกราคม 2528 รายงานการสำรวจพื้นที่ดังกล่าวว่ามีความเหมาะสมที่จะจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ ให้กองอุทยานแห่งชาติดำเนินการต่อไป

ในระหว่างการดำเนินการจัดตั้งอุทยานแห่งชาติแห่งนี้ ได้มีราษฎรคัดค้านและต่อต้านการจัดตั้ง เนื่องจากมีปัญหาเกี่ยวกับการเก็บหาของป่าและการเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่ ซึ่งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องฝ่ายต่างๆ ได้แก้ปัญหาดังกล่าวจนเป็นที่เข้าใจ และทางสภาตำบลบ้านแก้งได้มีมติยืนยันและสนับสนุนให้ทางราชการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ

จังหวัดมุกดาหารได้นำเสนอเข้าที่ประชุมคณะอนุกรรมการป้องกันอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้จังหวัด ครั้งที่ 2/2530 เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2530 ได้มีมติสนับสนุนให้ประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติได้มีมติคราวประชุมครั้งที่ 1/2530 เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2530 เห็นชอบให้กำหนดพื้นที่ดังกล่าวเป็นอุทยานแห่งชาติได้ โดยได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าดงบังอี้ ในท้องที่ตำบลศรีบุญเมือง ตำบลคำอาฮวน ตำบลดงเย็น ตำบลนาสีนวน อำเภอเมือง และตำบลบ้านแก้ง อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร เป็นอุทยานแห่งชาติ ประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษาเล่ม 105 ตอนที่ 235 ลงวันที่ 28 ธันวาคม 2531 นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 59 ของประเทศ

ต่อมาเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้พิจารณาชื่ออุทยานแห่งชาติให้มีความเหมาะสม สอดคล้องกับจุดเด่น และศักยภาพที่สำคัญของพื้นที่ที่จัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ จึงเปลี่ยนชื่ออุทยานแห่งชาติมุกดาหาร เป็นอุทยานแห่งชาติภูผาเทิบ

ขนาดพื้นที่
30245.67 ไร่

หน่วยงานในพื้นที่
หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่มห.1(ห้วยสิงห์)
หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่มห.2(ห้วยช้างชน)

ภาพแผนที่

ลักษณะภูมิประเทศ
สภาพภูมิประเทศประกอบด้วยภูเขาสูงชันหลายเทือกเขาติดต่อกัน คือ ภูนางหงษ์ ภูถ้ำพระ ภูหลังเส ภูหินเทิบ ภูหมากยาง ภูโป่ง ภูมโน มียอดเขาภูจอมศรีเป็นยอดเขาที่สูงที่สุด คือ สูงประมาณ 420 เมตรจากระดับน้ำทะเล มีสภาพเป็นภูเขาหินตลอดทั้งมีหินกว้างยาวและหินทับซ้อนกันในรูปต่างๆ หน้าผาสูงชัน และดินส่วนใหญ่เป็นดินปนทราย เป็นแหล่งกำเนิดของแม่น้ำหลายสาย เช่น ห้วยตาเหลือก ห้วยสิง ห้วยสะพาย ห้วยเรือ ห้วยบอน ห้วยช้างชน ห้วยไค้ และห้วยมะเล เป็นต้น 

ลักษณะภูมิอากาศ
อุทยานแห่งชาติมีสภาพภูมิอากาศแบ่งออกเป็น 3 ฤดู คือ ฤดูฝน ระหว่างเดือนมิถุนายน - เดือนพฤศจิกายน ฤดูหนาว ระหว่างเดือนธันวาคม - เดือนมกราคม ฤดูร้อน ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ - เดือนพฤษภาคม 

พืชพรรณและสัตว์ป่า
สภาพป่าประกอบด้วย ป่าเต็งรังประมาณ ร้อยละ 60 ของพื้นที่ ไม้เด่นในป่านี้ ได้แก่ เต็ง รัง เหียง พยอม กระบก เป็นต้น ร้อยละ 30 ของพื้นที่ เป็นป่าเบญจพรรณ ไม้เด่นในป่านี้ ได้แก่ แดง พะยูง ประดู่ มะค่าโมง และตะแบกเป็นต้น และอีกร้อยละ 10 ของพื้นที่ เป็นป่าดิบแล้งไม้เด่นได้แก่ เขลง ตะเคียนหิน โมกขาว ติ้วขาว ติ้วขน และลำดวนดง เป็นต้น

สัตว์ป่าที่พบเห็นโดยส่วนใหญ่เป็นสัตว์ขนาดเล็ก ได้แก่ หมูป่า กระต่าย กระรอก กระแต เก้ง หมาจิ้งจอก อีเห็น ลิง ไก่ป่า และนกนานาชนิด 

การเดินทาง
รถยนต์
ที่ทำการอุทยานแห่งชาติภูผาเทิบ ตั้งอยู่บริเวณภูผาเทิบ อยู่ห่างจากอำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร ประมาณ 17 กิโลเมตร โดยเดินทางไปตามเส้นทางหลวงหมายเลข 2034 สายมุกดาหาร-อำเภอดอนตาล ประมาณ 14 กิโลเมตร เป็นถนนลาดยาง แล้วเลี้ยวขวาอีก 2 กิโลเมตร จะถึงอุทยานแห่งชาติภูผาเทิบ 

ที่มาข้อมูล : http://park.dnp.go.th/visitor/nationparkshow.php?PTA_CODE=1059

ภาพ อัครเดชา ฮวดคันทะ


















 ภาพ อัครเดชา ฮวดคันทะ


ท่องเที่ยวสัมผัสถิถีชุมชน บ้านภูโฮมสเตย์ มุกดาหาร







ขอขอบคุณข้อมูล จาก http://www.travel2mukdahan.com
ภาพ อัครเดชา ฮวดคันทะ
บ้านภู หมู่บ้านวัฒนธรรมชนเผ่าผู้ไทย อพยพมาจากฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง(สปป.ลาว) เมื่อ ปีพ.ศ. 2387 ก่อตั้งหมู่บ้านมาได้ราว 170 ปี ตั้งอยู่ระหว่างหุบเขา เดิมมีชื่อว่า "บ้านหลุบภู" ผู้นำหมู่บ้านคนแรกคือ "เจ้าสุโพสมบัติ" บ้านภูมีประชากรจำนวน 1,200 คน จำนวน 250 ครัวเรือน ประกอบอาชีพทำนา และมีอาชีพเสริมคือการทอผ้า เลี้ยงสัตว์ และจักสาน สภาพภูมิทัศน์ของหมู่บ้านมีทิวทัศน์และสิ่งแวดล้อมสวยงาม พื้นดินอุดมสมบูรณ์เป็นแหล่งต้นน้ำ และมีการจัดการท่องเที่ยวแบบมีส่วนร่วม เป็นแหล่งวัฒนธรรมประเพณี มีการแต่งกายที่ยังคงเป็นอัตลักษณ์ (นุ่งซิ่นทิว ใส่เสื้อเย็บมือย้อมคราม) มีพิธีบายศรีสู่ขวัญ และประเพณีปฏิบัติตามฮีต 12 ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สืบสานไว้ รวมทั้งยังสามารถท่องเที่ยวเชื่อมโยงในสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ อาทิ ถ้ำจำปาภูผากูด เจดีย์ชัยมงคล วัดภูถ้ำโสม เจดีย์หลวงปู่เหล้า เขมปัตโต เป็นต้น นับเป็นศูนย์ชุมชนต้นแบบ ควรส่งเสริมพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีศักยภาพมากขึ้น 




อากาศดี บ้านเมืองงาม
มี 3 ฤดู ได้แก่ ฤดูกาลร้อนตั้งแต่มี.ค.-มิ.ย., ฤดูฝน มิ.ย.-ต.ค. และฤดูหนาว เดือน พ.ย.-ก.พ. ในฤดูร้อนร้อนจัด ฤดูหนาวหนาวจัด ฟ้าฝนทุกปีมีชุกไม่เคยแห้งแล้ง

วัฒนธรรมขนบธรรมเนียใประเพณี  ฮีต คอง
วัฒนธรรมใช้วิถีชีวิตแบบพอเพียงนิยมปลูกพืชผักสวนครัวหลังฤดูเก็บเกี่ยว และตามหลังบ้าน นิยมการแต่งกายให้เป็นอัตลักษณ์ของชุมชนคือ ผู้หญิงนุ่งซิ่นทิว ใส่เสื้อเย็มมือย้อมคราม แถบชายขอบแดง ห่มผ้าสไบพาดไหล่ซ้าย คนในชุมชนพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน เด็กเคารพเชื่อฟังผู้ใหญ่ มีกิจกรรมพ่อแม่ทำลูกข้าววัด ประเพณีปฏิวัติตามฮีต 12





แหล่งท่องเที่ยว
ความพิเศษของชุมชนและสิ่งที่ทำให้ชุมชนแตกต่างกว่าที่อื่นๆคือ บริเวณพื้นที่ล้อมรอบด้วยภูเขา อากาศดี มีธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมสวยงาม ยังชุมชนดีมีถนนภายในหมู่บ้านหลายสาย สะอาด ร่มรื่นๆ ชาวบ้านสามัคคี มีความกระตือรือร้น มีวิถีชีวิตตามแนวของเศรษฐกิจพอเพียง มีการอนุรักษ์สืบสานฟื้นฟูวัฒนธรรมประเพณี

ความภาคภูมิใจ
          1. บ้านภูโฮมสเตย์ ได้รับการรับรองมาตรฐานโฮมสเตย์ไทย จากสำนักพัฒนาการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ปี 2551 - 2552
          2. ในการประกวดรางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย (Thailand Tourism Awards) ครั้งที่ 8 ประจำปี 2553 ได้รับรางวัล “ดีเด่น” ระดับประเทศ ประเภทแหล่งท่องเที่ยวชุมชน จากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.)







จุดเด่นด้านการท่องเที่ยวของชุมชน
          1. ศูนย์ชุมชนต้นแบบ และมีแหล่งเรียนรู้ชุมชนจำนวน 6 ฐาน ได้แก่ ฐานลดรายจ่าย ฐานเพิ่มรายได้ ฐานประหยัด ฐานเรียนรู้ ฐานอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และฐานเอื้ออารี
          2. จัดการท่องเที่ยวโดยเอาชุมชนเป็นตัวตั้งคือทุกคนมีส่วนร่วมและเป็นผู้บริการร่วมกัน มีพิธีบายศรีสู่ขวัญ กินข้าวพาแลงแกงกะบั้ง และพักค้างคืนแบบโฮมสเตย์
          3. มีกุฏิเก่า คงอนุรักษ์ไว้เพื่อการท่องเที่ยว
          4. สถานที่ท่องเที่ยวหรือข่ายใกล้เคียง สามารถนำท่องเที่ยวเชื่อมโยงระยะทางอยู่ใกล้ชุมชนได้แก่ ถ้ำจำปาภูผากูด เจดีย์ชัยมงคล วัดภูถ้ำโสม เจดีย์หลวงปู่เหล้า เขมปัตโต เป็นต้น

กิจกรรมท่องเที่ยว
   -   ขบวนการต้อนรับคล้องพวงมาลัยแห่กลองตุ้ม
   - ฟังบรรยายสรุป ข้อมูลชุมชน ณ ศูนย์เรียนรู้ชุมชนต้นแบบ
   - ถ้าพักโฮมสเตย์ที่เจ้าบ้านจัดไว้ต้อนรับ แลกเปลี่ยนเรียนรู้วิถีชุมชน
   - ทานอาหารพาแลง บายศรีสู่ขวัญ ชมกิจกรรมการแสดงศิลปะพื้นบ้าน นันทนาการ
   - ทำบุญใส่บาตรตอนเช้า
   - แลกเปลี่ยนเรียนรู้วิถีชุมชนในแหล่งเรียนรู้ 6 ฐาน

อาหาร
   1. แกงอ่อมหวายใส่ไก่นา ใส่น้ำข้าวเบือย่านาง เป็นอาการเมนูหลัก
   2. แจ่วซ้อมผู้ไท กินกับลวกผักปลอดสารตามฤดูกาล
   3. ปลานิลทอด (ปลาเลี้ยงจากกระชังแม่น้ำโขง)
   4. ไก่ทอด

โปรแกรมท่องเที่ยว 
ตัวอย่างโปรแกรมการท่องเที่ยว
   - ชมข้อมูล นิทรรศการ เรื่องราวในศูนย์เรียนรู้ชุมชนบ้านภู
   - แหล่งการเรียนรู้ 6 ฐาน
         •     ฐานที่ 1 : ด้านการลดรายจ่าย
         • ฐานที่ 2 : ด้านการเพิ่มรายได้
         • ฐานที่ 3 : ด้านการประหยัด
         • ฐานที่ 4 : ด้านการเรียนรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ปราชญ์ชาวบ้าน วิถีชุมชนเผ่าผู้ไทบ้านภู
         • ฐานที่ 5 : ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
         • ฐานที่ 6 : ด้านการเอื้ออารี การจัดสวัสดิการสงเคราะห์ ช่วยเหลือ ภายในชุมชน
   - นมัสการพระเจ้าใหญ่ ขอพรความเป็นสิริมงคล ที่ที่วัดเก่า วัดศรีมันทาราม
   - เที่ยวชมหมู่บ้านและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตามแหล่งเรียนรู้ชุมชน 6 ฐาน
   - กิจกรรมพาแลง บายศรีสู่ขวัญ ลานวัฒนธรรมนำสุขใจ
   - พักค้างคืนในบ้านโฮมสเตย์ บ้านมีเสน่ห์หลับสบาย
   - เที่ยวแหล่งเรียนรู้เครือข่ายกลิ่นไอวัฒนธรรม วัดพุทธคีรี
   - ปีนเขาชมวิวส่องทิวธรรม ภูจ้อก้อ ภูผาขาว นมัสการพระพุทธรูป และสลักบนหน้าผาภูถ้ำโสม สุดยอดแห่งการชมวิว มีทิวทัศน์ที่สวยงาม

ปฏิทินการท่องเที่ยว   เปิดการท่องเที่ยวตลอดปี









เส้นทางท่องเที่ยว
หมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์วัฒนธรรมบ้านภู มีแหล่งท่องเที่ยวเครือข่ายใกล้เคียง
   1. วัดพุทธคีรี นมัสการพระพุทธคีรี ระยะทาง 1.3 กิโลเมตร
   2. วัดถ้ำจำปา สถานที่บรรลุธรรมของหลวงปู่เสาร์ ดนุจสีโล ระยะทาง 7 กิโลเมตร
   3. วัดถ้ำโส้ม พระแกะสลักบนหน้าผาสุดยอดแห่งการชมวิว ระยะทาง 4 กิโลเมตร
   4. เจดีย์ชัยมงคล วัดยาน้ำทิพย์ ระยะทาง 29 กิโลเมตร
   5. ตลาดอินโดจีน เทศบาลเมืองมุกดาหาร ระยะทาง 57 กิโลเมตร

การเตรียมตัวและข้อพึงปฏิบัติ
การเตรียมตัวของนักท่องเที่ยว
ที่นอน หมอน ผ้าห่ม ผ้าเช็ดตัว บ้านพักโฮมสเตย์มีพร้อมบริหาร

ข้อพึงปฏิบัติของนักท่องเที่ยว
   - งดเล่นการพนันทุกชนิด
   - งดดื่มเหล้าหรือสารเสพติดที่เป็นภัยต่อสังคม
   - ร่วมกิจกรรมที่ชุมชนจัด (บายศรีสู่ขวัญ กิจการหาแลง)
   - ไม่ส่งเสียงรบกวนระหว่างเวลา 22.00 – 05.30 น. ของวันใหม่

ผลิตภัณฑ์ชุมชน
   1. ผ้าหมักโคลน เป็นผลิตภัณฑ์ผ้าคลุมไหล่ ผ้าพันคอ ผ้าตัดเสื้อ
   2. ผ้าไหม ไหมพื้นเรียบ ไหมมัดหมี่
   3. ผลิตภัณฑ์ข้าว ข้าวกล้อง ข้างฮาง ข้าวงอกผง น้ำข้าวกล้องงอก




การเดินทาง
บ้านภู อยู่ห่างจากว่าการอำเภอหนองสูง 7 กิโลเมตร ห่างจากตัวจังหวัดมุกดาหาร 57 กิโลเมตร ถนนลาดยางทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2370 (สายหนองสูง – นิคมคำสร้อย) จากนิคมคำสร้อยระยะทาง 29 กิโลเมตร

ข้อมูลติดต่อ
   1. นายถวัลย์ ผิวขำ ประธานโฮมสเตย์ โทร 087-2301599
ที่อยู่ 74 หมู่ 1 ตำบลบ้านเป้า อำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร 49160
   2. นายบุญธรรม แก้วศรีนวม รองประธาน โทร 085-4793837
ที่อยู่ 74 หมู่ 1 ตำบลบ้านเป้า อำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร 49160
































ขอขอบคุณข้อมูล จาก http://www.travel2mukdahan.com
ภาพ อัครเดชา ฮวดคันทะ





















ขอขอบคุณผู้สนับสนุนอย่างเป็นทางการ